เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติแก่ประชาชน
โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน สรุป ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
ความมีเหตุผล คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความพอเพียงต้องใช้เหตุผล และพิจารณาด้วยความรอบคอบ
ความพอเพียง คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอกิน พอใช้
ประหยัด และไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ
เตรียมใจให้พร้อมรับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การมีความรู้ คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต
การมีคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี
และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว
ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวความคิด
เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น
โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย
และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับโดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง
และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม
ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย ๓
คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
ความพอประมาณ: หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล: หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น
ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว: หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไข
การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้: ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน
และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม: ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย
มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร
ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผลจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้
คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพระราชดํารัสที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่
4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า
วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชีย
เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงินวิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย
เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน
พระองค์ท่านจึงได้ มีพระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต แก่คนไทย ดังต่อไปนี้
เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน
พระองค์ท่านจึงได้ มีพระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต แก่คนไทย ดังต่อไปนี้
พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2541
“เศรษฐกิจพอเพียง... จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้
แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน
ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน
ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้...”
พระราชดํารัสเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา
"เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน
เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง
สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม
แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป"
ความเข้าใจของคนส่วนมากต่อเศรษฐกิจพอเพียง
คนส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรเท่านั้น ซึ่งแท้จริงผู้ประกอบอาชีพอื่น ก็สามารถนำเอาแนวพระราชดำรัสไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น
"ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยเน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม้ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากขนาดใหญ่เกินไป ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาผลิตสินค้า ต้องคำนึงถึงสิ่งที่อยู่ในประเทศไทยก่อน เพื่อให้ไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติ
อย่างเช่นปัจจุบันผู้ที่เป็นเกษตรกร หากมีความพอประมาณในใจตน ไม่นึกแต่จะซื้อรถคันใหม่ หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกอยู่ร่ำไป ก็จะมีความสุข"
เศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีชีวิตแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และมีใจตนเป็นสำคัญ ซึ่งก็คือวิถีชีวิตไทย ที่ยึด ทางสายกลาง ของความพอดี
เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
รูปภาพเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
3 ห่วง คือทางสายกลาง ประกอบไปด้วย ดังนี้
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง
ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง
หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ
ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
นั่นคือสรุปรวบยอดของ เศรษฐกิจพอเพียง สรุปได้เป็น 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวมา หลายๆคนอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ แล้วคงกระจ่างกันสักที เกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงแบบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้น
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่
แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น
เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ
ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดังนี้
ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐานเทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ
ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง
แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า
มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ
จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้
และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว
รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ที่ไม่สามารถผลิตเองได้
ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ
มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม
ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์
หรือการที่ี่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ
มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน
การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้
ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง
ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น
ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา
แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร
และธุรกิจต่าง ๆ
ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก
ไม่เบียดเบียน แบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
เศรษฐกิจพอเพียง คือ
พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย
เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ หรือ การเปลี่ยนแปลงใด
ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้
"ความพอเพียง" หมายถึง
ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร
เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง ทั้ง ทางด้านวัตถุ
สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดย อาศัยความรอบรู้ รอบคอบ
และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ
มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน
ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ
ให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล
โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป
ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น
การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น
จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ
เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น
ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง"
คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี
ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง
เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง
สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้
และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง
การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล
คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน
จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี
จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น
หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย
- ยึดความประหยัด
ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย
ประกอบอาชีพ
แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย
- ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน
คือ ทุนทางสังคม
- ตั้งสติที่มั่นคง
ร่างกายที่แข็งแรง ปัญญาที่เฉียบแหลม
นำความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิต
สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
การใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนั้น
จะต้องมีความพอดี
- ต้องเข้มแข็ง
สามารถพึงตนเองได้
- มีจิตสำนึกที่ดี
- เอื้ออาทร
ประนีประนอม
- นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
- รู้รักสามัคคี
- สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน
- รู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ
- เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด
- รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม
- พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน
- ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก
- เพิ่มรายได้
ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร
- พออยู่
พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน
เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวความคิดหรือปรัชญา ในการดำรงชีวิต "ทฤษฎีใหม่" ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางในการนำ
หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่
คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด
มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง
ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี
หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน
มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย
เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบำรุงดิน เช่น
การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร
ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน
ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕
ตัว ต่อครัวเรือน เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน
โดยใช้เศษอาหาร รำ และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่ และการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการประกอบอาชีพเสริม
เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้น
การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กิจกรรมทุกอย่างจะพึ่ง กันและกัน เช่น
การเลี้ยงปลาในนาข้าว ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา
ในขณะที่ปลาจะกินแมลงศัตรูข้าว และมูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว
การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก
มูลไก่เป็นปุ๋ย สำหรับผัก
การใช้ทรัพยากรในไร่นา มูลสัตว์ทำเป็นปุ๋ยคอก
เศษหญ้า ใบไม้ทำปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา ฟางข้าว ใช้เพาะเห็ด
การใช้แรงงานในครอบครัว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยเสริมรายได้ เช่น
การแปรรูป และถนอมอาหาร เช่น
พริกแห้ง มะนาวดอง กล้วยตาก ไข่เค็ม กระเทียมดอง
ผักดอง น้ำพริกเครื่องแกง การจักสาน หัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์
เครื่องใช้ เช่น ดอกไม้ ใบยาง เครื่องใช้ และเครื่องจักสานจากผักตบชวา ไม้ไผ่
กล้วย
เมื่อคนในสังคมหรือชุมชน
สร้างครอบครัวพอเพียงได้แล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การเกิดขึ้น ของชุมชนพอเพียง
ที่สมาชิกชุมชนนั้น จะรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมีการแบ่งปัน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตน
บริหารจัดการปัจจัยต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสมดุล
และเมื่อ หลาย ๆ ชุมชนพอเพียงมารวมกลุ่มกันแลกเปลี่ยนความรู้
สืบทอดภูมิปัญญาและร่วมกันพัฒนา
ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะกลายเป็นสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด
การสร้างชุมชนและสังคมที่พอเพียงนั้น เกิดขึ้นได้จากกิจกรรมการผลิต
โดยเฉพาะในภาค การเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างคุ้มค่า
ด้วยการหมุนเวียนทุน ธรรมชาติภายในพื้นที่และด้วยวิธี
การทำเกษตรที่เน้นปลูกเพื่อกินเองก่อน และการทำกิจกรรมที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม
เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ การปลูกผักและข้าวที่ปลอดสารพิษ การทำสวนสมุน ไพรของชุมชน การคิดค้นสารไล่แมลงสมุนไพร
การทำถ่านชีวภาพ การรวมกลุ่มขยายพันธุ์ปลา
การแปรรูปผลผลิตและกรทำเกษตรผสมผสาน เป็นต้น มีการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์
ร่วมมือกัน ทั้งในด้านปัจจัยและอุปกรณ์การผลิต การตลาด เงินทุน การศึกษา
และชีวิตความเป็นอยู่
มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง
ๆ ที่เกิดจากความรักและ เอื้ออาทรต่อกัน เช่น กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด
การมนัสการพระ ให้ มาช่วยสอนจริยธรรมและศีลธรรมในโรงเรียนชุมชน
การรวมกลุ่ม เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน การจัดตั้งร้านค้าชุมชน
การจัดทำแผนแม่บทชุมชน การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ
การรวมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มทำขนมของแม่บ้าน
หรือรวมกลุ่มเพื่อปลูกพืชผักสวนครัว
บนพื้นฐานของการปลูกฝัง สมาชิกในชุมชนให้มีความเอื้ออาทรต่อกัน
มากกว่าคำนึงถึงตัวเงินหรือ วัตถุ มีความคิดที่จะแจกจ่ายแบ่งปันให้ผู้อื่น
ซึ่งจะทำให้ได้เพื่อนและ เกิดเป็นวัฒนธรรมที่ดี ที่จะช่วยลดความเห็นแก่ตัวและสร้างความพอ เพียงให้เกิดขึ้นในจิตใจ
แม้ว่าระดับความพอเพียงของแต่ละคนจะไม่เท่าเทียมกันแต่
ทุกคนก็สามารถดำเนินชีวิตตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วยการ ยึดมั่นในหลักการ ๓
ประการ เหมือนกัน คือ
การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเอง
ด้วยการพยายามทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งมีความเจริญและมีความเย็น
ในจิตใจอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
การคิดพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในการดำเนิน
กิจกรรมต่าง ๆ คือ เมื่อปัญหาจากการดำเนินชีวิต ก็ให้ใช้สติปัญญา
ไตร่ตรองหาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขไปตามเหตุและปัจจัย
ด้วย ความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ ก่อนที่จะคิดพึ่งผู้อื่น
และมี การปรึกษาหารือถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในชุมชน
การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
รู้จักลดกิเลสและลดความต้องการ ของตนเองลง เพื่อให้เหลือแรงและเวลาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ตลอดจนทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากขึ้น
การดำเนินชีวิตของเราที่แสดงออกถึงการนำพระราชดำรัชมาใช้
1. ใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ
ไม่ฟุ่มเฟือย
2. มีเหตุมีผลในการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง
3. นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต
4. ซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี
และช่วยเหลือผู้อื่น
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น